วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การเจริญเติบโตของมะปราง

 มะปราง



ชื่อสามัญ Maprang, Marian plum , Plum Mango
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bouae burmanica Griff.
วงศ์ Anacardiaceae (วงศ์เดียวกับ มะม่วง มะกอก ฯลฯ)
ถิ่นกำเนิด เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (พม่า ไทย ลาว กัมพูชา มาเลเซีย )
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น มีทรงต้นค่อนข้างแหลม มีกิ่งก้านสาขาค่อนข้างทึบต้นโตมีขนาดสูง 15-30 เซนติเมตร มีรากแก้วแข็งแรง ใบ มะปรางเป็นไม้ผลที่มีใบมาก ใบเรียว ขนาดใบโดยเฉลี่ยกว้าง 3.5 เซนติเมตร ยาว 14 เซนติเมตร ปีหนึ่งมะปรางจะแตกใบอ่อน 1-3 ครั้ง ดอก มะปรางจะมีดอกเป็นช่อ เกิดบริเวณปลายกิ่งแขนง ช่อดอกยาว 8-15 เซนติเมตร เป็นดอกสมบูรณ์เพศ (เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน) ดอกบานจะมีสีเหลือง ในไทยออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ผล มีลักษณะทรงกลมรูปไข่และกลม ปลายเรียวแหลม มะปรางช่อหนึ่งมีผล 1-15 ผล ผลดิบมีสีเขียวอ่อน-เขียวเข้มตามอายุของผล ผลสุกมีสีเหลืองหรือเหลืองอมส้ม เปลือกผลนิ่ม เนื้อสีเหลืองแดงส้มออกแดงแล้วแต่ชนิดพันธุ์ รสชาติหวาน-อมหวานอมเปรี้ยว หรือเปรี้ยว-เปรี้ยวจัด เมล็ด มะปรางผลหนึ่งจะมี 1 เมล็ด ส่วนผิวของกะลาเมล็ดมีลักษณะเป็นเส้นใย เนื้อของเมล็ดทั้งสีขาวและสีชมพูอมม่วงรสขมฝาดและขมลักษณะเมล็ดคล้ายเมล็ดมะม่วงหนึ่งเมล็ดเพาะกล้าได้ต้น 



 ส่วนต่างๆของมะปรางมีลักษณะดังนี้
 ลำต้น
 มะปรางเป็นไม้ผลที่มีทรงต้นค่อนข้างแหลมถึงทรงกระบอกมีกิ่งก้านสาขาค่อนข้างทึบ ทรงต้นมีขนาดสูงปานกลาง-ใหญ่ ประมาณ 15-30 เมตร มีระบบรากแก้วเข็งแรง จึงทนอยู่ในสภาพที่แห้งแล้งได้ดี

 ใบ 
 มะปรางเป็นไม้ผลที่มีใบมากแน่นทึบ ใบคล้ายใบมะม่วงแต่มีขนาดเล็กกว่า และใบเรียวยาว ขนาดใบโดยเฉลี่ยกว้าง 3.5 เซนติเมตร ยาว 14 เซนติเมตร ใบจะเกิดเป็นคู่อยู่ตรงกันข้าม ขอบใบเรียบแผ่นใบเหนียว ใบอ่อนที่แตกออกมาใหม่ๆ จะมีสีม่วงแดง มีเส้นใบเด่นชัด จากนั้นค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเขียวเป็นมัน ปีหนึ่งมะปรางจะแตกใบอ่อน 1-3 ครั้ง 

 ดอก 
 ดอกมะปรางจะมีลักษณะเป็นช่อเกิดบริเวณปลายกิ่งแขนงที่อยู่ภายในทรงพุ่มและนอกทรง พุ่ม ช่อดอกยาว 8-15 เซนติเมตรเป็นดอกสมบูรณ์เพศ (เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน)  ดอกบานจะมีสีเหลือง ในประเทศไทยดอกมะปรางจะบานช่วงเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม  

 ผล 
 มะปรางมีลักษณะทรงกลมรูปไข่ ปลายค่อนข้างเรียวแหลม มะปรางช่อหนึ่งจะมีผล 1-15 ผล รูปร่างและขนาดของผลมะปรางจะแตกต่างกันในแต่ละพันธุ์ ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อนเมื่อแก่หรือสุกผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือเหลืองอมส้ม เปลือกผลนิ่ม เนื้อสีเหลืองแดงส้มออกแดง รสชาติหวาน-อมหวานอมเปรี้ยว หรือเปรี้ยว-เปรี้ยวจัด
 เมล็ด 
 มะปรางผลหนึ่งจะมี 1 เมล็ด ส่วนหุ้มเมล็ดจะเป็นเส้นใย เนื้อของเมล็ดมีสีชมพูอมม่วง มีรสขมและฝาดลักษณะเมล็ดคล้ายเมล็ดมะม่วง ใน 1 เมล็ดสามารถเพาะกล้าเป็นต้นมะปรางได้ 1 ต้น
ความแตกต่างของมะปรางหวานกับมะยงชิด 
 ลักษณะโดยรวม
 โดยทั่วไปแล้ว มะปรางกับมะยงชิด เป็นพืชในกลุ่มเดียวกัน ทั้งนี้เนื่องจากมีการปลูกโดยเมล็ดและมีการกลายพันธุ์ทำให้มีลักษณะที่แสดงออกแตกต่างกันไป จึงทำให้มะปรางถูกเรียกแยกออกเป็นหลายกลุ่ม เช่น มะปรางหวาน มะยงชิดมาก มะยงชิดน้อย มะปรางเปรี้ยว กาวาง ซึ่งจะเห็นว่า การแบ่งลักษณะมะปรางออกเป็นกลุ่มได้ 5 กลุ่ม โดยใช้ลักษณะรสชาติเป็นหลัก และขนาดผลร่วมด้วย ซึ่งลักษณะทรงพุ่ม ขนาดของใบ การเรียงตัวของใบ เส้นใบ สีของยอดอ่อน รสของยอดอ่อน ยังไม่มีใครศึกษาลักษณะเหล่านี้เพื่อคัดแยกกลุ่มของมะปราง และจากการแยกของเกษตรกร หรือนักวิชาการ บุคคลทั่วไป ก็ไม่ใช้ลักษณะเหล่านี้ เนื่องจากใช้ลักษณะเหล่านี้แล้วแยกออกไม่เด่นชัด  นอกเหนือจากรสชาติและขนาดผล เท่านั้น




มะปรางหวาน
 1. ผลดิบมีรสมัน
 2. ผลสุกมีรสหวาน-หวานจืด
 3. โดยรวมขนาดจะเล็กกว่ามะยงชิด
 4. บางสายพันธุ์เมื่อทานแล้วจะคันคอ
 5.ผลสุกจะมีสีออกเหลือง

 มะยงชิด
 1. ผลดิบมีรสเปรี้ยว
 2. ผลสุกมีรสหวานอมเปรี้ยว
 3. โดยรวมผลจะมีขนาดใหญ่กว่ามะปรางหวาน
 4. โดยรวมไม่ทำให้เกิดอาการคันคอ
 5. ผลสุกจะมีสีออกเหลืองอมส้ม



ประวัติและความเป็นมาของมะปราง - มะยงชิด 

            มะปราง ผลไม้คู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทย มีมาแต่โบราณกาล ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ฉะนั้นมะปรางพันธุ์ดี จึงปรากฏให้เห็นอยู่แถบเมืองเก่า ที่รายล้อมเมืองสุโขทัย เช่น กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ พิจิตร พิษณุโลกเป็นต้น เฉพาะ กำแพงเพชรเมืองหน้าด่าน ที่มีกำแพงเมืองแข็งแกร่งประดุจเพชรนั้น สมัยโบราณมีชื่อเรียกว่าเมือง ชากังราว เป็นภาษามอญแปลว่า “ชุมทาง” จึงปรากฏว่ามีต้นมะปรางอยู่ในตัวเมืองมากมาย เป็นที่น่าเสียดาย ที่ถูกตัดทิ้ง เพื่อก่อสร้างอาคารคอนกรีตเกือบหมด แต่ก็พอหลงเหลือให้เห็นอยู่บ้างในปัจจุบัน
        ต่อมามีการย้ายราชธานี ลงไปทางใต้ โดยเฉพาะสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานี สันนิษฐานว่าน่าจะมีการนำเอามะปรางจากทางเหนือ ลงไปปลูกและขยายไปในเขตปริมณฑล จะเห็นว่าที่จังหวัดอ่างทองมีมะปรางพันธุ์ดีปรากฏอยู่จนทุกวันนี้
            เมื่อถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พอจะมีหลักฐานปรากฏว่าได้มี มะยงชิด พันธุ์ดีหรือที่หลายคนในสมัยรัชกาลที่ 5 เรียกว่า มะปรางเสวย มีแหล่งปลูก อยู่แถว ต. ท่าอิฐ อ.เมือง จ.นนทบุรี จัดว่าเป็นมะปรางที่มีขนาดผลใหญ่ ใกล้เคียงกับไข่ไก่หรือไข่เป็ด บางพันธุ์มีรสชาติหวานอมเปรี้ยว น่าจะเป็นต้นกำเนิดของ มะยงชิด ซึ่งต่อมาได้มีการขยายไปปลูกแถวบางขุนนนท์  จึงมีการตั้งชื่อเรียกขานกันว่า มะยงชิดบางขุนนนท์
            เมื่อมะปรางได้ถูกเผยแพร่กระจายออกไป จึงมีการกลายพันธุ์ ( Mutation ) ส่วนหนึ่งกลายเป็นมะยง อันประกอบไปด้วย มะยงชิด มะยงห่าง กาวาง
           ส่วนอีกสายพันธุ์หนึ่ง กลายพันธุ์เป็น มะปรางหวาน ลูกใหญ่ๆรสชาติหวานสนิทไม่มีรสเปรี้ยวปนและเมื่อรับประทานจะไม่มีการระคายคอเหมือนมะปรางโบราณที่ยังไม่มีการวิวัฒนาการ(Evolution) ขนาดของผลใกล้เคียงกับ มะยงชิด บางพันธุ์ผลใหญ่กว่า มะยงชิด  มะปรางหวานใหญ่ ที่กลายพันธุ์มานี้ ยังไม่ค่อยมีคนรู้จักเหมือน มะยงชิด เมื่อวางขายในท้องตลาดจึงมีราคาแพงกว่า มะยงชิด เพราะยังคงหายาก ต้นแม่พันธุ์และสายพันธุ์ยังไม่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ด้วยเหตุนี้ทางศูนย์ฯจึงได้ใช้ความพยายามเสาะแสวงหา มะปรางหวานใหญ่ ที่หายากเหล่านี้นำมาเสนอได้ 6 สายพันธุ์ดังได้กล่าวมาแล้วและจะเสนอขั้นรายละเอียดในลำดับต่อไป



พันธุ์มะปราง
แบ่งตามลักษณะพฤกษศาตร์แบ่งได้ 3 ชนิด
1. Bouae microphylla มะปรางที่มีใบเล็ก มีรสเปรี้ยว มะปรางป่าหรือมะปริงทางภาคใต้ พวกนี้มีรสเปรี้ยวผลเล็กสำหรับทางภาคใต้นั้นมักนำมาบริโถคผลดิบ ใช้ตำน้ำพริก ใส่แกงส้ม หรือเอามาจิ้มกับมันกุ้ง มะปริงมีขึ้นอยู่ทั่วไปทางภาคใต้
2. Bouae macrophylla มะปรางใบใหญ่ ขนาดใบเกือบเท่าใบมะม่วง เป็นพันธุ์ต่างประเทศ มีการปลูกในแถวแหลมมลายู เท่านั้น
3. Bouae burmanica มะปรางที่ปลูกกันโดยทั่วไป เรียกมะปรางบ้านหรือมะปรางสวน
มะปรางที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ คือกลุ่มของ Bouae burmanica แบ่งตามลักษณะของรสชาติแบ่งได้ 3 ชนิด
1.มะปรางเปรี้ยว หมายถึง มะปรางที่ออกผลมีรสเปรี้ยวจัด แม้แต่ผลสุกก็ตาม มีทั้งผลเล็กและผลโต ชาวสวนเรียกว่า กาวาง การใช้ประโยชน์โดนการนำไปแช่อิ่มหรือดอง
2.มะปรางหวาน มีผลขนาดเล็กถึงใหญ่ เรียกรวม ๆว่า มะปราง เป็นมะปรางหวานนั้นเอง มะปรางต้นที่มีชื่อที่สุดคือต้นในวังสระประทุม และมะปรางหวานที่ ต. ท่าอิฐ อ. ปากเกร็ด จ. นนทบุรี (มะปรางท่าอิฐ)
3.มะยง สามารถแยกได้ 2 ชนิด คือพวกที่มีรสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย เรียกว่า มะยงชิด และพวกที่มีรสหวานอมเปรี้ยวมากเรียกว่า มะยงห่าง (สรัสวดี และปฐพีชล,2531)
มะปรางหวาน
พันธุ์ท่าอิฐ เนื้อหนา เมล็ดน้อย รสหวานสนิท ผลรูปไขค่อนข้างยาวรี ผลกว้าง 3.8 เซนติเมตร ยาว 6.1 เซนติเมตร จำนวนผลประมาณ 20-25 ผล/กิโลกรัม มีความหวาน 17.1 % Brix เนื้อสีเหลืองส้ม (Yellow Orange 22-A) เมล็ดหนา 0.9 เซนติเมตร ต้นอยู่ที่ท่าอิฐ อ.ปาเกร็ด จ.นนทบุรี
พันธุ์ลุงชิด มะปรางหวาน ผลใหญ่ เนื้อหนา เมล็ดเล็ก ขนาดผลกว้าง 3.7 เซนติเมตร ยาว 6.2 เซนติเมตร จำนวนผลประมาณ 18-20 ผล/กิโลกรัม มีความหวาน 17.2 % Brix เมล็ดหนา 0.9 เซนติเมตร ต้นอยู่ที่สวนนายชิด ต.ปากแคว อ.เมือง จ.สุโขทัย
พันธ์ทองใหญ่ มะปรางหวาน ผลใหญ่ เนื้อหนา ขนาดผลกว้าง 3.5 เซนติเมตร ยาว 5.6 เซนติเมตร จำนวนผลประมาณ 18-20 ผล/กิโลกรัม มีความหวาน 17.2 % Brix เนื้อสีส้ม (Orange 24-A) เมล็ดหนา 1.0 เซนติเมตร ต้นเดิมอยู่ที่สวนผู้พันทองคำ ต.ไม้เก็ด อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี
พันธุ์สุวรรณบาท มะปรางหวาน ผลใหญ่ เนื้อหนา รสหวานสนิท ขนาดผลกว้าง 3.5 เซนติเมตร ยาว 7.2 เซนติเมตร จำนวนผลประมาณ 18-20 ผล/กิโลกรัม มีความหวาน 17.8 % Brix เนื้อสีเหลืองส้ม เมล็ดหนา 0.6 เซนติเมตร ต้นเดิมอยู่ที่สวนนางระเบียบ หาญสวธา ต.ท่าอิฐ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์
พันธุ์ลุงพล มะปรางหวาน ผลใหญ่ ต่างจากชนิดอื่นตรงผิวของผล จะมีริ้วรอยสีขาวเป็นทางยางทั่วผล ขนาดผลกว้าง 3.5 เซนติเมตร ยาว 5.3 เซนติเมตร จำนวนผลประมาณ 18-22 ผล/กิโลกรัม มีความหวาน 15.6 % Brix เมล็ดหนา 0.9 เซนติเมตร ต้นเดิมอยู่ที่สวนลุงพล ต.ปากแคว อ.เมือง จ.สุโขทัย
พันธุ์ลุงประทีป มะปรางหวาน ขนาดผลกว้าง 3.6 เซนติเมตร ยาว 5.6 เซนติเมตร จำนวนผลประมาณ 18-22 ผล/กิโลกรัม มีความหวาน 16.2 % Brix เนื้อสีเหลืองส้ม(Yellow Orange 22-A) เมล็ดหนา 1.0 เซนติเมตร เป็นต้นลูกของพันธุ์ลุงชิด ต้นเดิมอยู่ที่สวนลุงประทีป เลิศไกร ต.คลองกระจง อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย (นรินทร์,2537)
พันธุ์ไข่ห่าน ผลรูปไข่ มีผลโตสุดประมาณ 11 ผล/กิโลกรัม
พันธุ์อีงอน มีผลยาวกว่าพันธุ์ไข่ห่าน ขั้วผลแหลม ผลโตสุดประมาณ 11 พันธุ์หวาสำลัก มีขนาดผล 18-20 ผล/กิโลกรัม (เคหการเกษตร,2531)
มะปรางยง
พันธุ์มะยงชิดท่าอิฐ รสหวานอมเปรี้ยว ขนาดผลกว้าง 3.9 เซนติเมตร ยาว 6.4 เซนติเมตร จำนวนผลประมาณ 15-18 ผล/กิโลกรัม มีความหวาน 17.4 % Brix เนื้อสีส้ม(Orange 24-A) เมล็ดหนา 1.0 เซนติเมตร ต้นเดิมอยู่ที่ท่าอิฐ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
พันธุ์มะยงชิดพูลศรี รสหวานอมเปรี้ยว ขนาดผลกว้าง 3.9 เซนติเมตร ยาว 6.2 เซนติเมตร จำนวนผลประมาณ 16-20 ผล/กิโลกรัม มีความหวาน 18.6 % Brix เนื้อสีส้ม(Orange 24-A) เมล็ดหนา 1.0 เซนติเมตร ต้นเดิมอยู่ที่สวนพูลศรี อ.เมือง จ.สุโขทัย
พันธุ์มะยงชิดลุงฉิม รสหวานอมเปรี้ยว ขนาดผลกว้าง 3.9 เซนติเมตร ยาว 6.4 เซนติเมตร จำนวนผลประมาณ 15-18 ผล/กิโลกรัม มีความหวาน 17.4 % Brix เนื้อสีส้ม(Orange 24-A) เมล็ดหนา 1.0 เซนติเมตร ต้นเดิมอยู่ที่สวนลุงฉิม บุญเยี่ยม บางขุนนนท์ บางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
พันธุ์พระอาทิตย์ รสหวานอมเปรี้ยว ขนาดผลกว้าง 3.8 เซนติเมตร ยาว 6.2 เซนติเมตร จำนวนผลประมาณ 15-18 ผล/กิโลกรัม มีความหวาน 18.4 % Brix เนื้อสีส้ม ต้นเดิมอยู่ที่สวนนางล้วน เชตุใจ ต.ในเมือง อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์
พันธุ์มะยงชิดสวนนางระเรียบ ผลใหญ่ รสหวานอมเปรี้ยว ขนาดผลกว้าง 3.8 เซนติเมตร ยาว 6.2 เซนติเมตร จำนวนผลประมาณ 18-22 ผล/กิโลกรัม มีความหวาน 17.6 % Brix เนื้อสีส้ม (Orange 24-B) เมล็ดหนา 0.9 เซนติเมตร ต้นเดิมอยู่ที่สวนนางระเบียบ หาญสวธา ต.ท่าอิฐ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์
พันธุ์มะยงชิดสวนนางอ้อน รสหวานอมเปรี้ยว ขนาดผลกว้าง 4.2 เซนติเมตร ยาว 6.1 เซนติเมตร จำนวนผลประมาณ 15-18 ผล/กิโลกรัม มีความหวาน 17.4 % Brix เนื้อสีเหลืองส้ม (Yellow Orange 22-A) เมล็ดหนา 1.1 เซนติเมตร ต้นเดิมอยู่ที่สวนนางอ้อน จาดยางโทน ต.วัดพริก อ.เมือง จ.พิษณุโลก
พันธุ์ทูลถวาย ขนาดผลกว้าง 4.3 เซนติเมตร ยาว 6.1 เซนติเมตร จำนวนผลประมาณ 15-18 ผล/กิโลกรัม มีความหวาน 17.4 % Brix เนื้อสีส้ม (Orange 24-A) เมล็ดหนา 1.1 เซนติเมตร ต้นเดิมอยู่ที่สวนครูเมือง ต.ท่าทราย อ.เมือง จ.นครนายก
พันธุ์มะยงชิดลุงยอด รสหวานอมเปรี้ยว ขนาดผลกว้าง 3.9 เซนติเมตร ยาว 5.8 เซนติเมตร จำนวนผลประมาณ 18-22 ผล/กิโลกรัม มีความหวาน 17.2 % Brix เนื้อสีส้ม (Orange 24-A) เมล็ดหนา 1.1 เซนติเมตร ต้นเดิมอยู่ที่สวนกำนันสอด ตะฆะมัง อ.เมือง จ.พิจิตร
พันธุ์มะยงชิดลุงเสน่ห์ รสหวานอมเปรี้ยว ขนาดผลกว้าง 3.9 เซนติเมตร ยาว 5.7 เซนติเมตร จำนวนผลประมาณ 18-22 ผล/กิโลกรัม มีความหวาน 18.0 % Brix เนื้อสีส้ม (Orange 24-A) ต้นเดิมอยู่ที่สวนลุงเสน่ห์ พลวิชัย ต.ม่านยาว อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย
พันธุ์ดาวพระศุกร์ ผลใหญ่ เนื้อหนา รสหวานอมเปรี้ยว ผลรูปไข่ ขนาดผลกว้าง 3.6 เซนติเมตร ยาว 5.6 เซนติเมตร จำนวนผลประมาณ 20-24 ผล/กิโลกรัม มีความหวาน 16.2 % Brix เนื้อสีเหลืองส้ม (Yellow Orange 24-B) ต้นเดิมอยู่ที่สวนนางล้วน เชตุใจ ต.ในเมือง อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ (นรินทร์,2537)



การปลูกมะปราง

- คัดเลือกกิ่งพันธุ์ที่สมบูรณ์ แข็งแรง ไม่เป็นโรคและไม่มีแมลงรบกวน
สายพันธุ์ที่เลือก คือ มะปรางพันธุ์สุวรรณบาตร จะให้ผลผลิตดี ต้นพันธุ์ควรมีลักษณะแข็งแรง สมบูรณ์ ไม่มีโรคแมลงรบกวน และมีการชำอยู่ในถุงพลาสติกอย่างน้อย 1 ปี
- เตรียมดินปลูกโดยขุดหลุมปลุกให้มีความกว้าง 50 ซม. ยาว 50 ซม. ลึก 50 ซม.
แล้วผสมดินแกลบดำกับปุ๋ยรองก้นหลุม ให้เข้ากัน นำกิ่งพันธุ์ลงปลูก ด้วยความระมัดระวัง อย่าให้ดินในถุงชำหรือตุ้มดินแตก โดยให้มีลักษณะการปลูกแบบกระทะคว่ำ
ระยะปลูก ในพื้นที่ราบหรือที่ดอน ควรใช้ระยะห่างระหว่างต้น 8 เมตร ระหว่างแถว 8 เมตร หรือปลูกแถวชิดระยะ 4 เมตร และแถว 4 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ ระยะ 8X8 เมตร จะปลูกมะปรางได้ 25 ต้น ระยะชิด 4X4 เมตร จะต้องใช้ต้นพันธุ์ 50 ต้นต่อไร่ ส่วนการปลูกสวนยกร่อง ควรใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 6 เมตร ระหว่างแถว 6 เมตร ปลูกแถวเดี่ยวใน 1 ไร่ปลูกได้ 45 ต้น
ระยะปลูกดังกล่าวจะทำให้ทรงพุ่มใหญ่เต็มที่ ซึ่งจะส่งผลต่อการให้ผลผลิตของมะยงชิดอีกด้วย

ฤดู ที่เหมาะสมที่สุดในการปลูกมะปรางควรปลูกต้นฤดูฝน ส่วนเวลาปลูกนั้น ควรปลูกในตอนเช้าหรือตอนเย็น ซึ่งเป็นช่วงที่อากาศไม่ร้อน วิธีปลูกให้นำกิ่งต้นพันธ์วางปากหลุม ถ้าเป็นกิ่งทาบควรใช้มีดกรีดพลาสติกที่พันโคนต้นออก แต่ถ้าเป็นกิ่งพันธุ์ที่ชำอยู่ในถุงพลาสติกสีดำ ใช้มีดกรีดด้านข้างก้นถุงโดยรอบ ก้นถุงพลาสติกจะหลุดออก ต่อจากนั้นยกต้นมะปรางไปปลูกลงหลุม กลบดินลงหลุมเล็กน้อย แล้วดึงถุงดำที่เหลือขึ้นมา ใช้มีดตัดออก กลบดินปลูกลงหลุมให้สูงกว่าระดับเดิมเล็กน้อย ใช้มือกดรอบ ๆ โคนต้นให้แน่น นำหลักไม้ไผ่มาปักโคนต้น ผูกต้นมะปรางกับหลักเพื่อกันลมโยก หลังจากนั้นรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ
(นรินทร์,2537)

การปฏิบัติดูแลรักษาต้นมะปราง 

1.การให้น้ำ โดยปกติมะปรางเป็นไม้ผลที่ค่อนข้างทนทานต่อความแห้งแล้ง แต่ถ้ามะปรางขาดน้ำก็จะไม่มีการแตกยอดใหม่ ทำให้มะปรางชะงักการเจริญเติบโต ดังนั้นมะปรางจึงมีความจำเป็นในการใช้น้ำ ในระยะแรกปลูก 2-3 เดือน ควรมีการให้น้ำให้ชุ่มอยู่เสมอเฉลี่ย 3-5 วันต่อครั้ง อายุ 3-6 เดือน ให้น้ำ 7-10 วันต่อครั้ง เว้นแต่ช่วงฝนตกงดการให้น้ำมะปรางที่อายุ 1 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะช่วงฤดูแล้ง ควรมีการรดน้ำ 15-20 วันต่อครั้ง
(นรินทร์,2537) 

ประเภท ของน้ำที่ใช้กับต้นมะปรางนั้น น้ำที่ได้มาจากแม่น้ำ, ลำคลอง, หนอง, บึง เมื่อนำมารดจะได้ประโยชน์มากกว่าน้ำบาดาล เพราะมีแร่ธาตุอาหารปนมาด้วย โดยปกติแล้วน้ำที่จะนำมารดให้กับต้นมะปราง ควรมีค่า pH 6.5-7.0 กล่าวคือควรมีสภาพเป็นกลาง
(ทวีศักดิ์,2537) 
2.การใส่ปุ๋ย มะปรางขึ้นได้ในดินหลายชนิดทั้งดินเหนียว ดินร่วน และดินร่วนปนทราย ถ้าปลูกมะปรางในแหล่งอุดมสมบูรณ์สูง มีธาตุอาหารอย่างพอเพียง ต้นมะปรางจะเจริญได้ดี ปัจจุบันแหล่งดินที่อุดมสมบูรณ์หายาก วิธีที่จะปรับปรุงคุณภาพของดินคือการใส่ปุ๋ยบำรุงดิน (นรินทร์,2537)

ในการใส่ปุ๋ยให้ใส่ปุ๋ยคอก และปุ๋ยหมักเป็นหลัก ใช้ปุ๋ยเคมีเป็นรองโดยถือว่า 

1.ระยะพืชกำลังเจริญเติบโตควรใช้ปุ๋ยที่มี N-P-K ในสัดส่วน 1:1:1 เช่นปุ๋ยเกรด 15-15-15 เพื่อเสริมสร้างและทดแทนส่วนที่พืชนำไปใช้ในการแตกยอด ใบ กิ่งก้าน 

2.ระยะใกล้ออกดอก ควรใช้ปุ๋ยที่มีสัดส่วนของฟอสฟอรัสสูง เช่นปุ๋ยเกรด 8-24-24 

3.ระยะที่พืชติดผลแล้ว ให้ใช้ปุ๋ยที่มีธาตุโปแตสเซียม เช่นปุ๋ยเกรด 13-13-21 หรือ 12-17-2 เพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิต          การใช้ปุ๋ยคอกในแปลงมะปรางช่วยในการลดต้นทุนในการผลิตได้เป็นอย่างดี ปุ๋ยคอกจะช่วยรักษาความชื้นในดิน เทคนิคที่สำคัญในการให้น้ำมะปรางไม่ควรให้ช่วงมะปรางออกดอกเพราะจะทำให้ผล ผลิตหล่นเสียหายหากประสงค์ให้น้ำในแปลงปลูกควรเสริมด้วย ปุ๋ยสูตรปุ๋ยสูตร 13-13-21 หรือ 12-17-2



** เทคนิคลดการสูญเสียปุ๋ย และ ให้ต้นไม้ได้รับปุ๋ยอย่างเต็มที่ ควรยอร่องเล็กๆ ตรงแนวรัศมีทรงพุ่มเป็นวงกลมล้อรอบต้นมะยงชิด ปุ๋ยจะได้ไม่ไหลหนีไปกับน้ำหรือน้ำฝน

3.การพรวนดินและคลุมโคนต้น ควรหาฟางข้าวหรือเศษหญ้ามาคลุมบริเวณโคนต้นที่ทำการพรวนดินเพื่อรักษาความ ชื้น การพรวนดินรอบ ๆ โคนต้นควรทำทุกปี ปีละ 3 ครั้ง คือช่วงต้นฝน ปลายฤดูฝน(ต้นฤดูหนาว) และฤดูร้อน ถ้าเป็นไปได้การพรวนดินและคลุมโคนต้นนั้นควรทำพร้อม ๆ กันกับการใส่ปุ๋ย 

4.การกำจัดวัชพืช วิธีป้องกันกำจัดวัชพืชดำเนินการได้หลายวิธี ได้แก่ การถากหญ้ารอบโคนต้น การใช้มีดฟันหญ้า การใช้เครื่องตัดหญ้า การใช้สารเคมีคลุมวัชพืชหรือฆ่าวัชพืช 

5.การพรางแสง มะปรางขึ้นได้ทั้งในที่มีแดดรำไรและในแสงแดดจ้า แต่การปลูกในที่พรางแสง จะมีการเจริญเติบโตได้ดีกว่าการปลุกกลางแจ้ง ฉะนั้นการสร้างสวนมะปรางเพื่อการค้า ในระยะ 1-3 ปีแรก ควรมีการปลุกกล้วยเป็นพืชแซม 

6.การตัดแต่งกิ่ง ควรมีการตัดแต่งกิ่งมะปราง กิ่งที่หัก กิ่งที่เป็นโรค หรือกิ่งที่แห้งตายออกทุกปีด้วย 

7.การตัดแต่งผล มะปรางที่มีการออกดอกเป็นช่อยาว 8-15 เซนติเมตร ในช่อหนึ่งอาจติดผลตั้งแต่ 1-5 ผล ควรมีการตัดแต่งผลมะปรางที่มากเกินไปออก เหลือช่อละ 1 ผล 

8.การห่อผล วิธีห่อผล ใช้กระดาษแก้วสีขาวที่ใช้ทำว่าว หรืออาจใช้กระดาษฟางสีขาว พับเป็นถุงเล็ก ๆ นำไปห่อมะปรางตั้งแต่ผลยังเขียว การห่อผลจะต้องทำด้วยความระมัดระวัง 

9.การเก็บเกี่ยว ในการเก็บเกี่ยวมะปรางแต่ละครั้ง ไม่ว่าผลแก่หรือผลอ่อน ควรเก็บเกี่ยวด้วยความระมัดระวัง ถ้าไม่ระวังผลมะปรางอาจจะกระทบกระเทือน ผลจะช้ำ 


วิธีการเก็บเกี่ยวผลผลิตมะปราง ถ้าต้นไม่สูงควรใช้กระดาษตัดเป็นฝอยปูรองก้นตะกร้าใส่มะปราง แล้วใช้กรรไกรตัดขั้วผล นำมะปรางมาใส่ ถ้าต้นสูงเกินไป ควรใช้บันไดปีน หรือใช้ตะกร้อสอยมะปราง เมื่อเก็บเกี่ยวเสร็จควรนำไปไว้ในที่ร่ม
10.การบรรจุหีบห่อ ควรเก็บมะปรางในที่ร่ม ตัดผลที่มีบาดแผล มีจุดดำ หรือเน่าเสียออก ไม่ให้ปะปนกับผลที่ดี การส่งมะปรางไปขายตามแหล่งใหญ่ ควรมีการห่อผลมะปรางด้วยทิชชูหรือตาข่ายโฟม บรรจุกล่องกระดาษ 1-2 กิโลกรัม เพื่อเพิ่มคุณค่าผลไม้ (นรินทร์,2537)
การให้ผลผลิต
มะปรางจะให้ผลผลิตในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน
ราคาผลผลิตอยู่ที่ 100-150 บาท/กิโลกรัม
การขยายพันธุ์มะปราง จะนิยมใช้การทาบกิ่ง การทาบกิ่งมะปรางจะใช้เวลาอย่างน้อย 6 เดือน และจะเริ่มตัดกิ่งมาชำอีกครั้งในช่วงฤดูฝน
ปัจจัยที่มีผลในการเจริญเติบโตของมะปราง
น้ำ และความชื้นสัมพัทธ์ แหล่งที่จะปลูกมะปรางเป็นการค้านั้น ควรมีฤดูฝนสลับกับฤดูแล้ง (หนาวและร้อน) ที่เด่นชัด เพราะในช่วงแล้งเป็นช่วงที่ช่วยให้มะปรางมีการพักตัว ชะงักการเจริญเติบโตทางใบและกิ่ง และช่วงดังกล่าวถ้ามีอุณหภูมิต่ำจะช่วยในมะปรางมีการออกดอกและติดผลดี การปลูกมะปรางควรเลือกพื้นที่ที่มีน้ำเพียงพอ เพราะในระยะที่มีการออกดอกแลติดผลนั้นเป็นช่วงที่มีผลน้อยคือในเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนมีนาคม ซึ่งช่วงดังกล่าวต้นมะปรางต้องการน้ำในการเจริญเติบโตของผลและถ้ามีการขาดน้ำทำให้ผลมีขนาดเล็ก ผลร่วงและให้ผลผลิตต่ำ
อุณหภูมิ อุณหภูมิเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการแทงช่อดอก การติดผล และระยะเวลาการสุกของผลมะปราง แหล่งปลูกมะปรางที่ได้ผลดีนั้น ควรมีอุณหภูมิโดยเฉลี่ยตลอดปีอยู่ในช่วง 20-30 องศาเซลเซียส
แสง มะปรางเป็นพืชที่สามารถเจริญเติบโตได้ทั้งที่มีแสงแดดรำไร (แสงแดด 50 เปอร์เซ็นต์) จนถึงแสงแดดกลางแจ้ง (แสงแดด 100 เปอร์เซ็นต์)
ความสูงและเส้นละติจูด มะปรางเป็นไม้ผลที่สามารถเจริญเติบโตได้ในความสูงตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนถึงความสูงระดับ 1000 เมตร แต่ความสูงที่เหมาะสมในการปลุกมะปรางนั้น ไม่ควรสูงเกิน 600 เมตร ซึ่งถ้าสูงเกินมะปรางจะไม่ออกดอก ให้ผลผลิตต่ำ นอกจากนี้ความสูงของพื้นที่มีอิทธิพลต่อระยะเวลาการออกดอกของมะปราง คือทุก ๆ ความสูง 130 เมตร มะปรางจะออกดอกช้าไป 4 วัน
ดิน มะปรางสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพดินปลุกหลายชนิด แต่ถ้าจะให้ดีที่สุด ควรเป็นดินร่วนที่อุดมสมบูรณ์ มีหน้าดินลึก มีความเป็นกรด-ด่างอยู่ระหว่าง 5.5-7.5


ปฏิทินการปฏิบัติดูแลรักษา 
การปฏิบัติเพื่อเตรียมความสมบูรณ์ของต้นหลังเก็บเกี่ยว 

เมษายน-พฤษภาคม

 เป็นช่วงหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต จึงต้องเร่งบำรุงต้นให้สมบูรณ์ จึงเริ่มต้นจาก การตัดแต่งกิ่ง โดยตัดกิ่งที่โรคแมลงทำลายเสียหาย 
เช่น กิ่งแห้ง กิ่งฉีกหัก กิ่งน้ำค้าง กิ่งซ้อนกันออก การกำจัดวัชพืช โดยทำความสะอาดแปลงและกำจัดวัชพืช การใส่ปุ๋ย 
จะใส่เมื่อตัดแต่งกิ่งและกำจัดวัชพืชแล้ว ใส่ปุ๋ยเพื่อเร่งการแตกยอดใหม่ โดยใส่ปุ๋ยคอก อัตรา 1-3 ปี๊ป / ต้น ใส่ปุ๋ยเคมี 
สูตร 15-15-15 อัตรา 2 กิโลกรัม/ ต้น การให้น้ำ ให้น้ำตามปกติอย่าปล่อยให้ขาดน้ำ 


มิถุนายน - สิงหาคม
 เป็นระยะที่มะปรางแตกใบอ่อนและเจริญเติบโตทางใบ จึงเน้น การป้องกันกำจัดโรคและแมลง โดยเฉพาะโรคแอนแทรคโนส 
ราดำ ราแป้ง ซึ่งจะทำลายใบและกิ่ง ถ้ามีการระบาดแนะนำให้ใช้ ้เบนโนมิล แคพแทน แมนโคเซป ส่วนแมลงที่ทำลายใบและลำต้น
 เช่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยหอย แมลงค่อมทอง เพลี้ยจั๊กจั่น ถ้ามีการระบาดแนะนำให้ใช้สารเคมีป้องกันจำพวก คาร์บาริล การให้น้ำ 
ให้น้ำถ้าฝนทิ้งช่วง อายุ 1 ปีขึ้นไป ให้น้ำ 5-7 วัน/ ครั้ง การกำจัดวัชพืช  ดูแลอย่าให้วัชพืชขึ้นรก เพราะจะเป็นแหล่งสะสมโรคแมลง 

กันยายน - ตุลาคม  
เป็นระยะที่ใบเริ่มแก่จัด ต้นมะปรางจะเข้าสู่ ระยะฟักตัวและสะสมอาหาร การปฏิบัติดูแลรักษาช่วงนี้ ควรงดการให้น้ำ
ถ้าเป็นในที่ลุ่ม ปลูกแบบยกร่อง ให้ลดระดับน้ำในร่อง เพื่อให้พืชฟักตัวสะสมอาหารและไม่แตกใบอ่อน การใส่ปุ๋ย 
ใส่ปุ๋ยเพื่อช่วยในการสร้างตาดอก ใช้สูตร 12-24-12 และ งดการใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง ถ้าต้นมะปรางอายุ 4-5 ปี 
ใส่ปุ๋ยอัตรา 0.5 กิโลกรัม/ ต้น การกำจัดวัชพืช ให้กำจัดวัชพืชใต้ทรงพุ่มออกให้หมด 
การปฏิบัติในช่วงการออกดอกติดผลอ่อน 

พฤศจิกายน 

เป็นช่วงระยะเริ่มแทงช่อดอกและดอกเริ่มบานในช่วงปลายเดือน ดังนั้น การให้น้ำ จะต้องระมัดระวัง โดยเริ่มให้น้ำเล็กน้อย
เมื่อแทงช่อดอกยาวประมาณ 7 เซนติเมตร แค่หน้าดินเปียกและให้อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ดอกมีความสมบูรณ์ 
ซึ่งจะทำให้ติดผลดี การป้องกันกำจัดโรคแมลง ควรป้องกันกำจัดแมลงประเภทเพลี้ยไฟ เพลี้ยหอย แมลงค่อมทอง 

ครั้งที่ 2 ช่อดอกยืดแล้วแต่ยังไม่บาน การปฏิบัติอื่นๆ  เช่น ในช่วงที่มะปรางเริ่มแทงช่อดอก ให้นำปุ๋ยคอกสด ๆ มากอง
ในสวนเพื่อเลี้ยงแมลงวัน สำหรับช่วยในการผสมเกสร

ธันวาคม 
เป็นระยะที่ดอกทยอยบานและติดผลขนาดเล็ก จึงต้องปฏิบัติดูแลรักษาเป็นกรณีพิเศษ โดย การให้น้ำ
เมื่อติดผลแล้วให้เพิ่มปริมาณน้ำมากขึ้นที่ละน้อย อย่าให้แบบทันที่ซึ่งอาจมีผลต่อการร่วงของผลอ่อน การใส่ปุ๋ย  เมื่อติดผลอ่อนขนาดหัวไม้ขีด ให้ใส่ปุ๋ยเร่งการเจริญเติบโตของผล คือ ใส่ปุ๋ยเคมีที่มีตัวท้ายสูง เช่น 13-13-21
 อัตรา 1-2 กิโลกรัม/ ต้น (ประมาณตามอายุ/ขนาดของทรงพุ่ม) การป้องกันกำจัดโรคแมลง เมื่อดอกบาน 
ให้หยุดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคแมลงทุกชนิดทันที ระยะผลโตขนาดหัวไม้ขีด ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง เช่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยหอย โดยใช้คาร์บาริล และผสมสารเคมีป้องกันกำจัดโรครา เช่น เบนโนบิล ไธอะเบนดาโซลป้องกันโรคแอนแทรคโนส ราดำ ราแป้ง 

การปฏิบัติในช่วงผลกำลังเจริญเติบโต 
มกราคม
เป็นระยะที่ผลกำลังเจริญเติบโต การให้น้ำ ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ 3-5 วัน/ครั้ง การป้องกันกำจัดโรคแมลง 
ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง เช่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยหอย โดยใช้คาร์บาริล และผสมสารเคมีป้องกันกำจัดโรครา
 เช่น เบนโนบิล ไธอะเบนดาโซล ป้องกันโรคแอนแทรคโนส ราดำ ราแป้ง ให้ห่อผลเมื่อผลอายุ 3 อาทิตย์ 
เพื่อป้องกันแมลงวันผลไม้ นก และเพื่อเพิ่มคุณภาพผล
กุมภาพันธ์ 
เป็นระยะผลเริ่มแก่และเก็บเกี่ยว นับเวลาจากดอกบานถึงผลแก่ ประมาณ 75 วัน ขึ้นกับพันธุ์และสิ่งแวดล้อม (อุณหภูมิความชื้น)
 การให้น้ำ ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอและลดปริมาณให้น้อยลงเมื่อผลเริ่มแก่ แต่ต้องสม่ำเสมอเพื่อป้องกันผลแตกเมื่อมีฝนหลงฤดู
 การใส่ปุ๋ย ในระยะที่มะปรางเริ่มเข้าไคล ควรใส่ปุ๋ยเพิ่มคุณภาพของผล คือใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 13-13-21 อัตรา 1-2 กิโลกรัม/ ตัน
 และปุ๋ยทางใบ สูตร 13-0-46 หรือ 10-20-30 อัตรา 2-3 ช้อนแกง/ น้ำ 20 ลิตร ฉีด 2 ครั้ง ห่างกัน 1 สัปดาห์ การป้องกันและ
กำจัดโรคแมลง ควรมีการห่อผลเพื่อป้องกันแมลงวันผลไม้ และนกจิกกิน

กุมภาพันธ์ - มีนาคม
เป็นระยะการเก็บเกี่ยวผลผลิต การเก็บเกี่ยว ควรเก็บเกี่ยวผลที่แก่ คือมีลักษณะบริเวณขั้วของผลจะมีสีเหลืองเข้ม 
โดยใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เก็บผลให้มีก้านติดมาด้วยอย่างน้อย 4-5 เซนติเมตร แล้วนำมาไว้ที่ร่ม 
ระวังจะช้ำเนื่องจากมะปรางเป็นผลไม้ผิวบาง 





การขยายพันธุ์มะปราง / มะยงชิด
  
มะปรางเป็นไม้ผลที่มีการเจริญเติบโตช้า ขยายพันธุ์ได้ยากและใช้เวลาในการขยายพันธุ์ยาวนานกว่าไม้ผลที่สำคัญบางชนิด เช่น มะม่วง ส้มโอ และขนุน อย่างไรก็ตามมะปรางสามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธี เช่น การเพาะเมล็ด การตอน การทาบกิ่ง การต่อกิ่ง การติดตา และการปักชำ ซึ่งการเพาะเมล็ดมีข้อจำกัดตรงที่มีการกลายพันธุ์จากมะปรางหวานอาจกลายเป็นมะปรางเปรี้ยวหรือหวานอมเปรี้ยว และจากมะปรางผลใหญ่อาจกลายเป็นมะปรางชนิดผลเล็ก มีส่วนน้อยที่การกลายพันธุ์ไปในทางที่ดีกว่าต้นพ่อแม่พันธุ์ และนอกจากนี้การปลูกจากต้นเพาะเมล็ดจะใช้เวลาประมาณ 8 ปี จึงจะเริ่มออกดอกติดผล   การตอนมีข้อจำกัดตรงที่กิ่งตอนจะไม่มีรากแก้ว จะต้องมีการเสริมรากภายหลัง ส่วนการทาบกิ่ง การต่อกิ่งและการติดตา จะต้องดำเนินการเพาะต้นตอมะปรางก่อน และการปักชำนั้นจะได้ต้นกล้าที่ไม่มีรากแก้ว จะต้องมีการเสริมมากภายหลังเช่นกัน 
การ ขยายพันธุ์มะปรางที่นิยมปฏิบัติกันมากในขณะนี้จะเป็นการทาบกิ่งและการต่อ กิ่ง ซึ่งการขยายพันธุ์แต่ละวิธีมีวิธีการปฏิบัติดังต่อไปนี้ 
การเพาะเมล็ด 
การขยายพันธุ์โดยวิธีการเพาะเมล็ด เป็นวิธีที่ง่ายและสามารถขยายพันธุ์มะปรางได้จำนวนมาก มีข้อเสียที่มีการกลายพันธุ์


การตอน 
เป็นวิธีการทำให้มะปรางออกรากในขณะที่กิ่งยังติดอยู่กับต้นพันธุ์ดี เป็นวิธีที่ปฏิบัติมานานแล้ว แต่มีข้อจำกัดที่กิ่ง ตอนไม่มีรากแก้ว การเพาะเมล็ดหรือต้นทาบกิ่งอาจเจริญเติบโตช้า หรือโค่นล้มได้ง่าย 

การทาบกิ่ง
 
เป็นวิธีการขยายพันธุ์มะปรางที่นิยมปฏิบัติมากที่สุดเพราะจะได้ต้นมะปรางพันธุ์ดีที่ระบบรากแก้วจากต้นตอ สามารถคัดเลือกกิ่งพันธุ์ดีได้ค่อนข้างใหญ่และยาวกว่ากิ่งปักชำ ให้มีการกลายพันธุ์และให้ผลผลิตเร็วประมาณ 4 - 5 ปี หลังจากปลูก นอกจากนี้การทาบกิ่งมะปรางให้เทคนิคและความชำนาญน้อยกว่าการต่อยอด และการติดตา ทั้งนี้เพราะทั้งกิ่งพันธุ์และต้นตอมะปรางต่างก็มีรากคอยเลี้ยงต้นเดิม อยู่แล้ว โดยที่ต้นตอมะปรางที่ใช้ทาบกิ่งจะปลูกอยู่หรือถูกอัดขลุยมะพร้าวที่มีความชื้นอยู่เสมอในถุงพลาสติกหรือในภาชนะพลาสติกขนาดเล็ก 
ส่วนของกิ่งพันธุ์ดีก็เป็นต้นมะปรางที่ปลูกอยู่กับต้นอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามการทาบกิ่งมีข้อจำกัดตรงที่จะต้องมีการเพาะกล้าต้นมะปรางเป็นต้นตออายุ 6 เดือน - 1 ปีก่อน จึงนำมาทาบกิ่งได้ 

การต่อกิ่งหรือการเสียบยอด 
การต่อกิ่ง หรือการเปลี่ยนยอดมะปราง เป็นวิธีการขยายพันธุ์มะปรางที่นิยมปฏิบัติมากอีกวิธีหนึ่ง สามารถขยายพันธุ์ได้ปริมาณมาก และเป็นการประหยัดกิ่งพันธุ์ดีหรือยอดพันธุ์ดีได้ดีกว่าการตอนและการทาบกิ่ง

การติดตา 
เป็นการนำตาของมะปรางที่สมบูรณ์เพียงตาเดียวจากต้นพันธุ์ดีไปสอดใส่ลงบนส่วนของมะปรางอีกต้นหนึ่งซึ่งเป็นต้นตอและเมื่อส่วนของมะปรางทั้งสองเชื่อมติดกันและเจริญเติบโตเป็นต้นเดียวกันแล้ว จากตาพันธุ์ดีเพียงตาเดียวจะทำหน้าที่เป็นยอดของต้นใหม่และมีส่วนต้นตอเป็นรากของมะปรางต้นใหม่ด้วย ต้นตอมะปรางที่จะนำมาติดตานั้นควรเป็นต้นตอที่ใส่ถุงเลี้ยงอยู่ในเรือนเพาะชำอายุ 1 - 2 ปี หรือเป็นต้นตอเพาะเมล็ดที่ปลูกลงแปลง ในสภาพสวนแล้ว 1 - 2 ปี ก็สามารถติดตาได้ การติดตามะปรางนั้นต้องใช้ความชำนาญค่อนข้างสูง ตามะปรางบอบซ้ำได้ง่าย ผู้ติดตาต้องใช้มีดที่คม สะอาดและปฏิบัติด้วยความระมัดระวัง

การปักชำ 
มะปรางเป็นไม้ผลที่มีกิ่งหรือยอดเล็ก ๆ จำนวนมาก สามารถนำมาปักชำให้ออกรากเป็นมะปรางต้นใหม่ได้ ไม่มีการกลายพันธุ์ประหยัดยอดพันธุ์ได้ดีกว่าการตอนและการทาบกิ่ง และสามารถขยายพันธุ์ได้จำนวนมาก 
1. การเพาะเมล็ด  การขยายพันธุ์วิธีนี้ง่าย และสามารถทำได้จำนวนมาก มีข้อเสียที่มีการกลายพันธุ์ และให้ผลผลิตช้า ประมาณ 7-8 ปี

อุปกรณ์ที่ใช้เพาะเมล็ด
1.เมล็ดพันธุ์มะปรางที่สมบูรณ์
2.ถุงพลาสติกสีดำขนาด 4X7 นิ้ว หรือ 5X9 นิ้ว
3.ดินปลูก ดินร่วนผสมปุ๋ยคอก ขี้เถ้าแกลบ อัตราส่วน 3:1:2
4.บัวรดน้ำ
5.ผ้าพลาสติกปูพื้น
6.ปุ๋ยทางใบ
7.สารเคมีป้องกันแมลง
8.เครื่องพ่นสารเคมี


ขั้นตอน
1.ผสมดินปลูก ดินร่วน 3 ส่วน ปุ๋ยคอก 1 ส่วน ขี้เถ้าแกลบ 2 ส่วน
2.นำผลมะปรางที่จะเพาะล้างเอาเนื้อออก ผึ่งในร่ม ก่อนเพาะควรนำไปจุ่มสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราก่อน การเพาะควรใช้ไม้ไผ่กลมเล็กแทงลึกประมาณ 2-3 เซนติเมตร แล้วนำเม็ดมะปรางมายอดในแนวนอน กลบเมล็ดด้วยดินเพาะ ประมาณ 5-10 วัน เมล็ดจะงอก
3.เมื่องอกเป็นต้นกล้า ควรมีการรดน้ำ และให้ปุ๋ยทางใบ (นรินทร์,2537)
2. การตอนกิ่ง ควรเริ่มทำการตอนกิ่งช่วงต้นฤดูฝน ควรใช้ขลุยมะพร้าวหุ้มดีกว่าใช้ดิน เพราะอุ้มน้ำดีกว่า
วิธีการตอน
1.เลือกกิ่งที่เป็นกิ่งเพสลาด คือผิวเปลือกสีน้ำตาลปนเขียว ลักษณะใบต้องสมบูรณ์ไม่เป็นโรค
2.ควั่นกิ่งตอน โดยหางจากปลายกิ่ง 40 เซนติเมตร โดยเปิดแผลกว้าง 2-3 เซนติเมตร แกะเปลือกออก ขูดเยื่อเจริญออก อาทิ้งแผลไว้ 7 วัน
3.หุ้มกิ่งตอนด้วยขลุยมะพร้าว ให้มิดรอยแผล แล้วเอาผ้าพลาสติกหุ้มต้นตออีกขั้นหนึ่ง จากนั้นเอาเชือกรัดหัวท้ายให้แน่นพอควร
4.ทิ้งไว้ 45-55 วัน ก็จะเกิดราก รอจนรากเดินดี จึงตัดไปชำ
5.ชำกิ่งตอน ควรทำในที่ร่มรำไร กิ่งตอนควรเลี้ยง 1-2 เดือน จึงนำไปปลูก อย่าลืมเอาถุงพลาสติกออกก่อนที่จะนำกิ่งลงชำ
3.การทาบกิ่ง เป็นวิธีขยายพันธุ์มะปราง/มะยงชิด ที่เมาะสมที่สุด เพราะมะปรางมีระบบรากแก้วที่แข็งแรง เหมาะที่ทนสภาพแล้งได้ดี การทาบกิ่งนิยมทาบแบบประกบ คือเฉือนต้นกิ่งพันธุ์ดีเป็นแผลยาว 2-3 นิ้ว เฉือนเข้าเนื้อไม้เล็กน้อยเฉียง 30 องศา ต้นตอใช้วิธีตัดยอดออก เฉือนเป็นปากฉลาม นำต้นตอที่เตรียมไว้ สอดเข้าแผลกิ่งพันธุ์ดี ต้นตอควรได้จาการเพาะเมล็ด อายุต้นตอ 1-2 ปี หรือต้นขนาดหลอดกาแฟ (ปฐพีชล,2529)


4.การเปลี่ยนยอด ควรเปลี่ยนยอดในช่วงฤดูฝน ส่วนฤดูอื่นต้องรดน้ำโคนต้นอยู่เสมอ
วัสดุอุปกรณ์
1.กรรไรแต่งกิ่ง
2.มีดตอนที่สะอาด
3.ผ้าพลาสติกใส
4.ถุงพลาสติก
5.ต้นมะปราง ต้นเพาะเมล็ดที่ปลูกในสวนอายุ 1-3 ปี
6.กิ่งหรือยอดพันธ์ดี ที่มีตาที่สมบูรณ์ พร้อมที่จะเป็นยอดใหม่
7.กิ่งไม้ทำเพิงชั่วคราว บังขณะต่อยอด
วิธีเปลี่ยนยอด
1.ใช้กรรไกรตัดยอดมะปรางพันธุ์ดีที่เราต้องการ มาเปลี่ยนยอดพันธุ์ไม่ดี ที่ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป ตัดยอดพันธุ์ที่จะต่อยาว 7-15 เซนติเมตร ตัดใบออกให้หมด
2.เมื่อถึงที่สวน ใช้กรรไกรตัดแต่งกิ่ง ตัดยอดต้นมะปรางที่สมบูรณ์ นำใบมีดโกนที่คมและสะอาดผ่ายอดต้นตอเป็นรูปลิ่ม 2-3 เซนติเมตร
3.นำยอดพันธุ์ดีของมะปราง ที่จัดเตรียมไว้แล้ว มาตัดยอดเหลือยาว 5-7 เซนติเมตร แล้วใช้ใบมีดโกนที่คมและสะอาด เฉือนกิ่งพันธุ์ดีทั้งสองด้านเป็นรูปปากฉลาม แผลยาว 2-3 เซนติเมตร แล้วนำไปเสียบบนยอดต้นตอ ในแนวเยื่อเจริญ
4.นำผ้าพลาสติกใสมาพันแผลบริเวณรอยต่อให้สนิท
5.นำซองพลาสติก หรือซองใส่ยามาคลุมบริเวณที่ต่อยอดมะปรางให้เลยรอยแผลเล็กน้อยใช้มือรัดปากถุง
6. หลังจากการเปลี่ยนยอดมะปราง ให้ตัดยอดที่เหลือทิ้งให้หมดเพราะอาหารจะได้มาเลี้ยงยอดใหม่ได้เต็มที่
7. หลังจากเปลี่ยนยอดได้ 30 วัน มะปรางจะมีการแตกใบอ่อนให้เลื่อนปากถุงขึ้นไปข้างบนที่ละน้อยเพื่อให้ยอดมะปรางแทงได้สะดวก และเมื่อเห็นยอดมะปรางปรับตัวเข้ากับอากาศภายนอกได้ดีแล้วให้นำซองยาออกได้ (เคหการเกษตร, 2537)
หลักการปลูกมะปรางแซมสวนกล้วย

การปลูกไม้ผลบาง ครั้งเกษตรกรก็ต้องใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ช่วยในการพรางแสงแดดให้กับต้นไม้ บาง ชนิดไม่ชอบแสงแดดจัด เช่นเดียวกันกับมะปราง ที่จะไม่ชอบแสงแดดจัดในช่วง เริ่มปลูกใหม่ จะแต่ต้องการน้ำมากเพื่อการฟื้นตัว ทำให้เกษตรกรต้องสิ้น เปลืองเงิน ในการซื้อวัสดุอุปกรณ์มาช่วยในการพรางแสงและให้น้ำ ทำให้ต้นทุน สูงขึ้นตามมานั่นเอง
ด้วยเหตุผลดังกล่าว คุณธวัชจึงแนะนำให้ใช้วิธีการปลูกแบบภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีมาแต่อดีต คือ การปลูกมะปรางแซมสวนกล้วย ซึ่งจะช่วยในเรื่องต่างๆ ที่ทำให้มะปรางเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี เนื่องจากการปลูกด้วยวิธีนี้จะมีข้อดี คือ
1.เมื่อมะปรางมีขนาดเล็กอยู่จะไม่ต้องการแสงมาก ใบกล้วยจะช่วยในการบังแสงแดดให้มะปรางไปในตัว เป็นการประหยัดต้นทุนในการซื้อตาข่ายพรางแสงได้เป็นอย่างดี

2.ต้นกล้วยเป็นพืชที่หาอาหารเก่งและดูดน้ำได้เก่งมาก ฉะนั้นต้นมะปรางจะได้รับน้ำอยู่ตลอดเวลาเมื่อปลูกแซมไว้กลางดงกล้วย

3.ต้นกล้วยเป็นพืชที่มีจุลินทรีมาก รวมถึงไส้เดือนดินจะช่วยทำให้ดินร่วนซุยและมีธาตุอาหารมาก เมื่อกล้วยต้นที่อยู่ข้างต้นมะปรางตาย รากของมะปรางจะสามารถเข้าไปแทนที่ได้อย่างง่ายดาย ส่งเสริมให้มะแรงมีการเตริญเติบโตที่ดี


วิธีการปลูกมะปรางแซมสวนกล้วย :

1.นำต้นกล้วย(หรือหน่อกล้วย) ที่มีความยาวประมาณ 1 เมตร จำนวน 4 ต้น มาปลูกในพื้นที่ที่จะปลูกมะปราง โดยปลูกต้นกล้วยให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส และเว้นsakarin.game@hotmail.comsakarin.game@hotmail.comพื้นที่ด้านในรัศมีประมาณ 30 เซนติเมตร เพื่อเป็นพื้นที่ปลูกมะปราง
2.เมื่อต้นกล้วยปลูกติดและมีการเติบโตดีแล้ว ก็นำต้นกล้ามะปรางมาปลูกได้เลย โดยขุดหลุม(ระหว่างพื้นที่ตรงกลางหน่อกล้วย 4 ต้น ) กว้าง 30 เซนติเมตร ลึก 30 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก 2 กำมือ
ต่อหลุม แล้วจึงนำต้นมะปรางลงปลูก และดูแลรักษาตามปกติ
***เพียงเท่านี้เกษตรกรที่จะปลูกมะปรางก็จะสามารถลดต้นทุนได้และลดระยะเวลาในการดูแลด้วย



การตลาด 
ปัจจุบันมีการคัดเลือกขนาดประมาณ 12-15 ผลต่อกิโลกรัม บรรจุกล่องสวยงามมีหูจับถือ เป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์ จำหน่ายจากสวนราคา 150- 200 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนลูกค้าจะเป็นลูกค้าขาประจำที่เคยซื้อกันมาโดยจะจำหน่ายตามคำสั่งซื้อ ล่วงหน้าเป็นปีๆ หรือที่ลุกค้าสั่งจองไว้เมื่อต้นปีก่อน ส่วนมากจะเป็น ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานธนาคาร ห้างร้านต่างๆ จะนิยมซื้อไปเป็นของฝาก
**ข้อคิดเกี่ยวกับการปลูกมะปราง-มะยงชิด เสริมราก จากประสบการณ์ของตาพ้อม **
จากประสบการณ์การทำสวนไม้ผลมากว่า 20 ปี ได้คลุกคลีอยู่กับมะปราง-มะยงชิดมานาน จะพบว่า ช่วงหลังๆ จะมีสมาชิกสั่งซื้อกิ่งพันธุ์แบบมีการเสริมรากไปปลูกกันมาก แต่กลับคิดว่าการเสริมรากมะปราง-มะยงชิดกลีบไม่ให้ผลดีที่แตกต่างแต่ อย่างใด เพราะพบว่าการปลูกมะปราง-มะยงชิดที่มีการเสริมราก จะมีการแตกยอกออกมาไม่สม่ำเสมอกันทั้งต้น จึงมีผลต่อการให้ผลผลิตและการออกดอก ทำให้การออกดอกพลอยไม่สม่ำเสมอกันไปด้วย จึงยากต่อการดูแลรักษา ใบอ่อนและช่อดอกรวมทั้งผลด้วย การเสริมรากจึงดูเหมือนกับว่าจะทำให้การเจริญเติบโตนั้นดีกว่าเดิม แต่จริงๆแล้ว แทบจะไม่แตกต่างไปจากการปลูกแบบธรรมดาทั่วไปแต่ประการใด สาเหตุที่เป็นเช่นนี้อาจเพราะระบบรากของต้นเดิมและรากที่นำมาเสริมนั้นมี ความสามารถในการหาอาหารต่างกัน หรือ ไม่สม่ำเสมอกันนั่นเอง


ประโยชน์ของมะปราง-มะยงชิด

ใช้เป็นอาหาร ผลสุก รับประทานเป็นของว่าง ทำน้ำผลไม้ ทำแยม กวน ผลดิบ ใช้จิ้มกะปิหวาน น้ำปลาหวาน ใช้ดองและแช่อิ่ม
คุณค่าทางโภชนาการ : ผลสุก มีกรดอินทรีย์หลายชนิด มีน้ำตาล วิตามินซีและวิตามินเอสูง ธาตุฟอสฟอรัส แคลเซียม และ อื่นๆ
คุณค่างทางยาสมุนไพร : เป็นยาถอนพิษไข้และพิษสำแดง ใบ ตำพอกแก้ปวดศีรษะ ผลมีรสเปรี้ยวอมหวาน แก้เสมหะในลำคอ แก้เสลดทางวัวแก้น้ำลายเหนียวและฟอกโลหิต

คุณค่าทางอาหารของมะปราง ในหนึ่งผล 
1. พลังงาน 60.0 หน่วย
2. ความชื้น 83.0 เปอร์เซ็นต์
3. โปรตีน 0.8 กรัม
4. ไขมัน 0.1 กรัม
5. คาร์โบไฮเดรต 15.7 กรัม
6. เส้นใย
7. แคลเซียม 12.0 กรัม
8. วิตามินบี 1 0.04 มิลลิกรัม
9. วิตามินบี 2 0.4 มิลลิกรัม
10. วิตามิน ซี 107 มิลลิกรัม
11. ไนอาซีน 0.4 มิลลิกรัม
12. ฟอสฟอรัส22.0 มิลลิกรัม
13. เหล็ก 0.9 มิลลิกรัม
* อ้างอิงจาก กรมส่งเสริมการเกษตรไม้ผล ประเทศไทย ปี 2530 (นรินสทร์ 2537)
การเก็บรักษาผลสด
ควรเก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดา ที่อุณหภูมิ 4-8 องศาเซลเซียส โดยใส่ในถุงพลาสติกแล้วรัดปากถุงให้แน่น จะช่วยเก็บรักษาไว้ได้นาน 30 วัน




1 ความคิดเห็น: